วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค 4.0

รูป โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค 4.0
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ ข้อความ

โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค 4.0

  • หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบาย“ไทยแลนด์4.0” โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ใช้นวัตกรรมทางเศรษฐกิจสังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง.
  • ซึ่งการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทักษะ ความรู้ ความสามารถตรงกับนโยบายดังกล่าวได้นั้น ระบบการศึกษาไทยต้องก้าวสู่ “การศึกษา4.0” เช่นเดียวกัน 
  • ว่าแต่การศึกษา4.0นั้นเป็นเช่นใด? แล้วโรงเรียน ครู ควรเป็นอยู่อย่างไรในยุค4.0?
  • แวดวงการศึกษาได้มีการกล่าวถึง ยุค 4.0 ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร4.0, ห้องเรียน4.0, ครูไทย4.0,โรงเรียน4.0 และมหาวิทยาลัย4.0 เป็นต้น 
  • โดยจะอธิบายไปในทิศทางเดียวกันในการพัฒนา สร้างเด็กและเยาวชนให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีทักษะของการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักแยกแยะข้อมูล มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียน นักศึกษา นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกที่ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้าง และพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของประเทศ
  • ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อาจารย์อาวุโส วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เริ่มต้นอธิบาย การศึกษา4.0 ว่าการพัฒนาการของการศึกษาที่ไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความได้แต่เป็นการศึกษาที่แท้จริงต้องทำให้ผู้เรียนสร้างผลผลิตหรือนวัตกรรมใหม่ออกมาได้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวนักเรียน นักศึกษาไปตลอดชีวิต สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน และจะช่วยแก้ปัญหาบริโภคนิยมที่เกาะกินสังคมไทยมาอย่างยาวนาน
  • การศึกษา4.0เป็นความหวังของประเทศไทยที่จะก้าวให้พ้นกับดักต่างๆ ที่มีมาอย่างยาวนาน เส้นทางการศึกษา4.0เพิ่งเริ่มต้นขึ้นและหนทางยังอีกยาวไกลนัก ในฐานะนักการศึกษา 
  • ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่าการศึกษา 4.0 เกิดขึ้นได้ต้องมีการพัฒนาระบบการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียน ครู ต้องเป็นการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ เพื่อให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางที่มีคุณค่าต่อตัวผู้เรียนต่อสังคมในทางสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียนการสอนต้องประกอบไปด้วยแนวคิด CCPR Model เพื่อสร้างให้เด็กมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
    • 1.Critical คิดวิเคราะห์ มองสังคมให้รอบด้าน รู้ที่มาที่ไป เข้าใจเหตุและผล
    •  2.Creative คิดสร้างสรรค์ เด็กต้องคิดต่อยอดจากที่มีอยู่ ประยุกต์และใช้ประโยชน์ มองประเด็นใหม่ๆ
    • 3.Productive คิดผลิตภาพ คำนึงถึงผลผลิต มีวิธีการและคุณภาพ ค่าของผลงาน และ
    • 4.Responsible คิดรับผิดชอบ นึกถึงสังคม ประเทศชาติ มีจิตสำนึกสาธารณะ และมีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม
  • “การศึกษา4.0โรงเรียนครู ต้องทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลผลิตขึ้นมาได้ ถึงแม้ผลผลิตจะไม่ใหม่เอี่ยม เป็นนวัตกรรมอย่างจริงจัง แต่เวลาที่ยาวนานผู้เรียนจะสร้างผลผลิตที่ใหม่ ทันสมัยได้เอง และเขาจะสามารถพัฒนาทักษะและวิญญาณการคิดค้นแสวงหาและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ติดตัวเขาไปตลอดชีวิต สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงผลงานต่างๆ 
  • ต้องเข้าใจว่าการศึกษา 4.0 ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต จริงอยู่ที่ 4.0 เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต เราต้องดำเนินการ 4.0 ให้ดีที่สุด มีค่าที่สุดและเป็นประโยชน์แก่เรามากที่สุด และต้องมองไปถึงชีวิตหลัก 4.0 เช่นเดียวกัน”  ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
  • สำหรับหลักสูตร CCPR Model ที่จะให้ผู้เรียนต้องมีอย่างน้อย 4 อย่าง ได้แก่
    • 1.เรียนรู้ทั่วโลกและภูมิปัญญาหลักของไทย
    • 2.ทางเลือกของสังคมไทยและของโลก ต้องให้ศึกษาทางเลือกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตเป็นโลกที่มีความหลากหลาย
    • 3.กระบวนการแสวงหาความรู้ เรียนความรู้หลักของไทยแล้ว ต้องเรียนนวัตกรรมวิเคราะห์ใหม่ของโลก ควรเป็นหลักสูตรที่ทุกคนต้องเรียน เรียนขนาดใหญ่อย่างไรก็ต้องนำมาวิเคราะห์ และ
    • 4.นวัตกรรมใหม่ของโลก จำเป็นต้องให้เรียนรู้กระบวนการที่จะหาความรู้ใหม่ อาจจะเรียนวิธีวิจัยก็ได้ ต้องสอนการวิจัยตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา
  • ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า วิธีการเรียนการสอนใน แบบCCPR Modelโดยจะเป็นการใช้ผลการสอนเป็นหลักประกัน โรงเรียน ครู จะต้องจัดการเรียนรู้แบบให้เด็กคิดวิเคราะห์วิเคราะห์เป็นหลัก เน้นวิเคราะห์ปัญหารายบุคคล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้เด็กทบทวนตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง 
  • อีกทั้งต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนคิดอะไรใหม่ ให้ฝึกการทำงานใหม่ๆ เพิ่มเติมจนแน่ใจในทักษะการคิดใหม่ได้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน มองใหม่ เสนอใหม่ ให้ทางเลือก เพิ่ม ลด ต่อยอด เสริม ลองแล้วลองอีก วางเป้าหมายที่ผลงาน แสวงหาวิธีการต่างๆ ให้ได้งาน ทดสอบ ประเมินคุณภาพปรับเปลี่ยนและช่วยสอดส่อง รวมถึงต้องดำเนินการในทุกระดับ นำตัวเองสู่สาธารณะ สังคม ผ่านการทดสอบ รูปแบบตัวอย่าง
  • “การจัดการศึกษาเพื่อผลผลิต ครูต้องสอนน้อย แต่ให้เด็กเรียนรู้มาก ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบไม่สอน ก็เรียนได้จริง โดยครูต้องเชื่อมั่นว่าผู้เรียนสามารถแสดงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนมีบทบาทในการวางแผนการจัดการเรียน ออกแบบกิจกรรมการเรียน กระตุ้นส่งเสริมจูงใจผู้เรียนและเตรียมคำถามที่ท้าทายให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบ มีประเด็นคำถามจากประสบการณ์ในชั้นเรียน การนำเสนอผลการเรียนมาอภิปรายแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนจะมีบทบาทใหม่ คือ Commentator เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เกิดผลงานที่เป็นองค์ความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์”
 ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
  • การศึกษาในอดีตเป็นการศึกษาบริโภคนิยมที่สอนให้ผู้คนถนัดการซื้อ กิน และใช้ ซึ่งถ้ายังเป็นอย่างนี้ การศีกษาไทยจะแย่ ดังนั้น การศึกษายุคใหม่ต้องไม่ใช่การผลิตผู้บริโภค แต่ต้องสร้างนักผลิต โดยการศึกษา 4.0 เป็นการสอนให้เด็กมีผลผลิต มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม ทั้งนี้ การที่มหาวิทยาลัยประกาศเป็นมหาวิทยาลัย 4.0 ไม่ใช่เพียงปรับปรุงสถานที่ให้สวยงาม แต่ต้องเป็นการผลิตนวัตกรรม สินค้าที่เป็นประโยชน์
  • การจัดการศึกษาไทย 4.0 เกิดขึ้นจริง ประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากผู้บริหาร ผู้สอนต้องเปลี่ยนวิธีคิด ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบเอาคะแนนสูง ทำให้นักเรียนถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ไม่สามารถคิดนอกกรอบได้ ครูต้องให้เสรีภาพเด็กเลือกเรียนตามความถนัด โดยส่งเสริม เติมเต็มตามศักยภาพของเด็ก ซึ่งเป็นการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคมาก รวมถึงต้องเป็นเป้าหมายการศึกษาของชาติ สร้างเด็กสร้างนวัตกรรม เลิกการบรรยาย แต่ให้เด็กได้ลงมือทำ เด็กทุกคนต้องมีผลงานและเห็นความสำเร็จอยู่ที่ผลงาน การเรียนการสอนทุกวิชาต้องเป็นแบบเดียวกัน มีการดำเนินการต่อเนื่อง และทุกคนต้องร่วมมือกันทำ” ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์กล่าวทิ้งทาย
  • การศึกษา4.0จะเกิดขึ้นจริงต้องเริ่มจากทุกภาคส่วนในระบบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา ครู ต้องปรับเปลี่ยน กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะสอดคล้องกับการก้าวสู่ยุค4.0สร้างผลผลิต นวัตกรรม สามารถติดตามการศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษาได้ 
 
โดย ชุลีพร อร่ามเนตร



การเรียน-สอน ศตวรรษที่ 21
การเรียน-สอน ศตวรรษที่ 2


  • โลกเปลี่ยนไปมาก ทั้งความรู้และเทคโนโลยีที่หาง่าย ราคาถูก  ผมนึกถึงวันที่ลงทุนซื้อโทรศัพท์มือถือ ใช้ครั้งแรก ผมใช้คำว่าลงทุน เพราะการจะมีโทรศัพท์มือถือใช้เมื่อ 20ปีก่อนเป็นเรื่องไม่ง่าย ราคาของโทรศัพท์มือถือตอนนั้น เครื่องละ 60,000บาทถึง 90,000บาทนั่นคือเงินที่ซื้อโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง สามารถนำไปซื้อมอเตอร์ไซค์ได้ 3 คัน
  • นอกจากลงทุนซื้อในราคาสูงก็ยังต้องจ่ายค่าใช้โทรศัพท์ในราคานาทีละ 12บาท และที่แปลกคือถ้ามีใครโทรหาเรา เรายังต้องเสียค่ารับโทรศัพท์อีกนาทีล่ะ 12บาท ทั้งยังมีค่าบำรุงรักษาเดือนละ 500 บาท 
  • ทำให้การมีโทรศัพท์ในตอนนั้น เป็นการ ลงทุน จริง ๆ ทำให้ใครก็ไม่อยากมีโทรศัพท์มือถือไว้ใช้ แต่วันนี้ใครจะเชื่อว่าใครๆ ก็ใช้โทรศัพท์มือถือ และเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถมากเกินกว่าที่ใครจะคาดถึง  เป็นโทรศัพท์ไร้สาย ซึ่งเป็นอะไรมากกว่าเครื่องมือสื่อสาร 
  • โทรศัพท์กลายเป็นแหล่งความบันเทิง ทั้ง ดูหนัง ฟังเพลง ดูทีวี และเล่นเกม ด้วยอุปกรณ์เล็กๆ เราสามารถจะจองตั๋วภาพยนตร์ ตั๋วเครื่องบิน เป็นบริการสารพัดอย่าง 
  • ต่อมาโทรศัพท์ก็เริ่มกลายเป็นแท็บเลต เป็นห้องสมุดเคลื่อนที่ กลายเป็นห้องประชุมที่สามารถได้ยินเสียง และเห็นหน้ากันได้แม้อยู่ต่างที่กันก็ตาม จำนวนผู้คนที่จดทะเบียนโทรศัพท์มือถือทั่วโลกในตอนนี้มีมากกว่า 4000ล้านเครื่อง ซึ่งเรียกได้ว่าโทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนยุคนี้ไปแล้ว
  • ประมาณสิบปีที่ผ่านมา ตามศูนย์การค้าแกล่งชุมชนโดยเฉพาะหน้ามหาวิทยาลัย เรามักจะเจอโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์  ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์สมัยนั้นเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการทำเว็บ เราถึงต้องกลับลงทุนไปนั่งเรียน เพื่อให้คุณครูมาสอน   
  • กระทรวงศึกษามีนบายให้โรงเรียนต้องมีคุณครูที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็น ผมได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาให้ไปบรรยายเรื่องการทำเว็บ และการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา คุณครูบ่นให้ฟังถึงความยุ่งยากของคอมพิวเตอร์ หรือเรื่องของอีเมล์  
  • แต่ทุกวันนี้เราเห็นเด็กรุ่นใหม่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี เราไม่ต้องส่งลูกไปเรียนคอมพิวเตอร์ คุณครูที่ปฏิเสธ อีเมล์วันนี้หลายท่านกลับมาใช้มันแล้ว ไหนยังจะมี Facebook หรือ Line      
  • เพราะความรู้สมัยนี้หาง่าย เด็กทั่วโลกที่สนใจเรื่องฟิสิกส์  เคมีก็เข้าไปเรียนฟรีๆ กันได้ เช่น www.khan-academy.org Harvard ที่ทำให้ไว้ให้สำหรับเด็กที่ไม่มีเงินไปกวดวิชา 
  • คุณบิล เกตส์ เจ้าของไมโครซอฟท์ มองเห็นว่าสิ่งที่คุณคานทำนั้นดี มีประโยชน์ ต่อคนทั้งโลก ก็เลยสมทบทุนให้ เพื่อที่จะได้มีเนื้อหาให้ครบทุกวิชา  
  • ตอนนี้ได้มีการแปลภาษาให้คนชาติต่างๆ ทั่วโลกได้ใช้แล้ว ใน podcost เองก็มีการรวบรวมเรื่องการฝึก ฟัง ฝึกพูดภาต่างๆ ไว้มากมาย 
  • ทำให้คนที่อยากฝึกภาษาได้ฝึกผ่านทางโทรศัพท์มือถือ  กลายเป็นการเรียนรู้ที่สามารถฝึกกันได้ 24 ชั่วโมง ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เด็กสามารถหาเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะจาก Youtube  Google หรือคุยกับคนที่สนใจเรื่องเดียวกันใน Facebook ซึ่งเป็นการสร้างความรู้ได้มากเกินกว่าที่โรงเรียนได้สอน 
  • คริสโตเฟอร์ ครู อิงเกิล นักร้อง นักแต่งเพลงขวัญใจวัยรุ่น เรียนรู้การแต่งเพลงจากอินเตอร์เน็ต ทำดนตรีและเผยแพร่ทางสังคมออนไลน์จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งๆที่ ไม่มีค่ายเพลง ไม่ได้ผ่านการฝึกจากสถาบันร้องเพลงใดๆ

  • เทเลอ วิลสัน เด็กอเมริกันอายุ 17 ปี สามารถผลิตเครื่องตรวจจับปฏิกรณ์ปรมาณูได้ในโรงรถของตนเอง จากการที่สนใจใฝ่รู้ด้วยตนเอง ผลงานของเขาทำให้ บารัค โอบามา  เชิญเขาไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ของชาติ เรื่องราวคลายๆ กันนี้ยังมีอีกมากมายทั่วโลก

  • หันมาดูการศึกษาในบ้านเรา เด็กยังคงท่องจำเรื่องเก่าๆ ไปสอบ ทั้งที่แค่แท็บเลตเด็ก ป1 ก็ยังหาคำตอบได้ คุณครูยังคงสอนเรื่องต่างๆ ที่ไม่รู้ว่าเด็กจะได้ใช้ในชีวิตเมื่อไร  เด็กยังคงแข่งกันเรียน  ผู้ปกครองบ่นว่าเสียเงินให้ลูกไปกวดวิชา ทั้งที่สามารถหาเรียนฟรีได้เอง ไม่เรื่องทางภาษาและเทคนิคการสอนแบบใหม่  เช่นใน MIT Open Course ware หรือที่ Khan Academy  
  • เรื่องราวที่เป็นปัญหาเหล่านี้ เพราะเราชินต่อการเรียนรู้แบบเดิม ฝึกทักษะแบบเดิม คือ รอคุณครูมาสอนมาบรรยายให้ฟัง เราขาดทักษะของการเรียนรู้ Learning Skill 
  • ความอยากเรียนรู้จึงหายไป เราแค่เรียนเพื่อสอบและเพื่อใบปริญญาเท่านั้น  ซึ่งมันเป็นปัญหาของคนทั่วโลก  แต่ตอนนี้นักการศึกษาทั่วโลกได้ตื่นตัวและพัฒนาสร้างรูปแบบการสอนใหม่ๆ  ออกมา เช่น

    • PBL (Problem-based Learning)
    • Outcome-based Learning
    • Game-based Learning
    • Flipped Classroom
    • CBL Creativity-based Learning ฯลฯ

  • ทั้งนั้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติสอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบัน  ซึ่งนักการศึกษาเห็นตรงกันว่า คือทักษะในการเรียนรู้
  • มีการเร่งให้ครู อาจารย์ เปลี่ยนแปลงการสอน จากวิธีเลกเชอร์แบบเดิมๆ ไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ๆ Learning Approach Model ที่สร้างขั้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้
  • Learning Skill คือ ทักษะในการเรียนรู้ ที่ไม่ใช่นั่งฟังอย่างตั้งใจ จดจำ แล้วนำไปใช้ อย่างเช่นที่เราใช้ในการเรียนการสอนที่ผ่านมา  
  • แต่ทักษะในการเรียนรู้ เป็นความสามารถในการหาความรู้ด้วยตนเอง รู้จักแยกแยะข้อมูลว่าอะไรคือความคิดเห็น อะไรคือข้อเท็จจริง ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั้นมีมากน้อยเพียงใด และการนำข้อมูลมาใช้ในสภาพจริงนั้นจะทำได้อย่างไร 
  • การจะทำให้เด็กมีทักษะนี้ได้จริงๆ ต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนมากๆ มาเป็นการสอนน้อยๆ ให้เด็กคิดหาคำตอบ ค้นคว้ามากขึ้น  และให้มีโอกาสในการนำเสนอมากๆ 
  • ซึ่งเป็นที่น่าห่วงเมื่อหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วหรือหลายประเทศที่กำลังจะเปลี่ยน แต่สำหรับประเทศเรา เราตั้งใจเปลี่ยนมากกว่า 10 ปี แต่ผลรับยังเหมือนเดิม คือการสอนยังคงเหมือนเดิมครับ

การเรียน-สอน ศตวรรษที่ 2



บทความโดย อ.วิริยะ  ฤาชัยพาณิชย์
ผู้ก่อตั้ง 
www.eduzones.com
https://www.facebook.com/ajWiriya

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เว็บบล๊อคเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)
เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

(1) ทักษะภาษาดิจิทัล(2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง(3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ(4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล
พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

(1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills(2) ทักษะการคิด Thinking Skills(3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills(4) ทักษะชีวิต Life Skills(5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills(6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill

........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น
........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "
.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"
.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1

..........................
ผู้จัทำ

ครูชาญวิทย์ รีชาาณิชพัฒนา
(ครูผู้สอน)